ข้อแนะนำทั่วไป

ข้อแนะนำชุดนี้ จะให้คำนิยามต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่เกี่ยวกับ ERICards ในแต่ละบท

คุณลักษณะ / ความเป็นอันตราย

อุณหภูมิบรรยากาศ : อุณหภูมิ ณ สภาพอากาศที่เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับสารเคมี โดยทั่วไปจะยอมรับอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียส

การระเบิดของของเหลวที่ขยายตัวเป็นไอเมื่อถึงจุดเดือด (BLEVE (Boiling Liquid Expanding Vapour Explosion)) มักเกิดขึ้นเมื่อเกิดเพลิงไหม้ภาชนะที่มีของเหลว และส่งผลทำให้โครงสร้างเนื้อโลหะอ่อนตัวลง และเกิดรอยแตกเนื่องจากความดันภายในที่เพิ่มขึ้น

ปฏิกิริยา (Reactive) : คุณสมบัติของสารเคมีที่จะมีปฏิกิริยาได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเกิดปฏิกิริยาจากตัวเอง หรือจากการกระตุ้นจากภายนอก จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยการปล่อยพลังงานออกมาจากการเกิดโพลิเมอร์ (Polymerisation) หรือการสลายตัว (Decomposition) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อน น้ำ ออกซิเจน (อากาศ) หรือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เป็นต้น

การระเบิดของกลุ่มไอก๊าซ หรือ VCE (Vapour Cloud Explosion) มีสาเหตุมาจากการจุดระเบิดของกลุ่มไอของก๊าซที่ติดไฟได้ผสมกับอากาศใน สภาพแวดล้อมเปิด เช่น บริเวณกลางแจ้ง

การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

ควรระลึกอยู่เสมอว่า ไม่มีชุดป้องกันสารเคมีใดๆ ที่จะป้องกันสารเคมีได้ทุกประเภท

หากพิจารณาจากอันตรายจากสารเคมีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันนั้น ระดับของการป้องกันอันตรายสำหรับบุคคลตามที่ ERICards แนะนำไว้นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

  • อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว หรือ เอสซีบีเอ (SCBA) พร้อมกับถุงมือป้องกันสารเคมี
  • ถังเอสซีบีเอ พร้อมชุดป้องกันสารเคมี ในกรณีที่อาจมีการสัมผัสสารเคมี (อย่างใกล้ชิด)
  • ถังเอสซีบีเอ พร้อมชุดป้องกันสารเคมี
  • เอสซีบีเอ (SCBA) พร้อมชุดป้องกันสารเคมี และใส่ชุดห่อหุ้มทั้งร่างกายทนทานต่อสารเคมี (gas-tight suit) เมื่อต้องเข้าใกล้สารเคมี หรือไอของสารเคมีชนิดนั้นๆ
  • ชุดห่อหุ้มทั้งร่างกายทนทานต่อสารเคมี (Gas-tight suit)

ชุด Gas-tight suit เป็นชุดที่สามารถป้องกันสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยชุดดังกล่าว จะผลิตจาก นีโอปรีน (neoprene), หรือยางไวนิล (vinyl rubber) หรือวัสดุอย่างอื่น และใช้ร่วมกับอุปกรณ์ SCBA ชุด Gas-tight suit สามารถป้องกันสารเคมีได้หลายชนิด แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน

สำหรับอุบัติการณ์์ที่เกี่ยวกับการแช่แข็ง และก๊าซเหลวต่างๆ ซี่งหากมีการสัมผัสถูกแล้ว อาจทำให้เนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากความเย็นจัด และอาจทำอันตรายต่อดวงตาอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงควรสวมใส่ชุดที่มีการบุด้้านใน รวมทั้ง ถุงมือหนัง หรือถุงมือผ้าอย่างหนาๆ ไว้ และสำหรับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการแผ่รังสีความร้อน ควรสวมใส่ชุดที่สะท้อนความร้อนออกมาเช่นกัน

ชุดสำหรับพนักงานดับเพลิงมาตรฐาน EN469 จะสามารถใช้ป้องกันเบื้องต้น ในกรณีอุุบัติการณ์ุที่เกี่ยวกับสารเคมี้ ซึ่งรวมถึง หมวกใส่ดับเพลิง รองเท้า boots และถุงมือ ชุดที่ไม่ตรงกับข้อกำหนดของ EN469 นั้น ไม่เหมาะสำหรับอุบัติเหตุที่เกิดจากสารเคมีี

ชุดสวมใส่สำหรับป้องกันชนิดที่ทำจาก พีวีซีไม่เหมาะสมกับการขนส่งสารเคมีหลายๆ ชนิด

การรั่วไหล

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลเพิ่มมากขึ้น ควรจะหยุดการรั่วไหลนั้นโดยทันที หากสามารถกระทำได้อย่างปลอดภัย มาตรการเพิ่มเติมอาจจำเป็น ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารเคมี และปริมาณสารเคมีที่รั่วออกมา ซึ่งอาจรวมถึง การยับยั้ง หรือการล้างออกด้วยน้ำ โดย ERICards แต่ละชุด จะให้คำแนะนำเฉพาะสารเคมีนั้นๆ

เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะยับยั้งการรั่วไหลอย่างทันท่วงที เพื่อจำกัดบริเวณที่เกิดเหตุให้มีพื้นที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ พึงระลึกอยู่เสมอว่า การยับยั้ง ไม่เหมือนกับการดูดซับสารเคมี พนักงานที่ตอบโต้ ควรจะตระหนักถึงอันตรายทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้นบริเวณที่เกิดเหตุปนเปื้อน เช่น ผิวพื้นอาจมีความลื่น ผงเคมีอาจทำให้เกิดกลุ่มฝุ่นละออง เป็นต้น ดังนั้น หากจำเป็นต้องเดินผ่านบริเวณนี้ ควรเดินด้วยความระมัดระวังมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจจำเป็นต้องล้างด้วยน้ำทันทีี เพื่อทำให้การรั่วไหลนั้นเจือจางอย่างรวดเร็ว และควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมเสียหายน้อยที่สุด

ผลิตภัณฑ์ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส จะต้องควบคุมการเกิดระเบิดที่อาจเกิดจากสารรวมตัวกับอากาศ ดังนั้น ทีมงานฝ่ายฉุกเฉิน จึงจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีระบบป้องกันการเกิดประกายไฟ และไม่ควรสูบบุหรี่ หรือจุดไฟในบริเวณที่เกิดเหตุนั้นๆ

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ทีมงานตอบโต้ฉุกเฉินได้รับสารพิษ พนักงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจึงไม่ควรรับประทานอาหารในบริเวณที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ

หลังจากที่สามารถกั้นบริเวณการรั่วไหลของของเหลวได้แล้ว ควรที่จะดูดซับสาร์นั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากไม่สามารถนำ้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไปใช้ได้อีก ERICards แต่ละฉบับได้อธิบายวิธีการต่างๆ ในการดูดซับสารเคมี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของสารเคมีนั้นๆ

หากผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ก่อให้เกิดผลกระทบนอกบริเวณที่เกิดเหตุรั่วไหลแล้ว คำแนะนำที่ให้ไว้จะทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เช่น "ให้ลดจำนวน หรือทำให้กลุ่มก๊าซสลายตัวด้วยการฉีดสเปร์ยน้ำ หรือ ไม่ควรฉีดสเปร์ยน้ำใส่ไปยังผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวโดยตรง"

เพลิงไหม้

อุปกรณ์ดับเพลิง - หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดมลภาวะ

สารที่ใช้ในการดับเพลิงส่วนมากจะสร้างมลภาวะทางน้ำได้ การฉีดน้ำแบบเป็นลำ หรือแบบสเปร์ยที่ใช้สำหรับผจญเพลิง หรือการฉีดน้ำเพื่อล้างบริเวณที่มีการรั่วไหล หรือการลดจำนวน/ดูดซับก๊าซ หรือกลุ่มไอ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำในบริเวณที่เกิดเหตุ สำหรับสารเคมีดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือน้ำยาดับเพลิงแบบก๊าซบางชนิด และโฟมดับเพลิง หรือ ผลิตภัณฑ์ดับเพลิงที่อยู่ในรูปของน้ำ ถือว่า เป็นตัวที่ทำให้เกิดมลภาวะที่สำคัญเช่นกัน

จากผลกระทบดังกล่่าว จึงควรใช้สารดับเพลิงด้วยความรอบคอบ

การผจญเพลิง

วิธีการดับเพลิง และเครื่องมือต่างๆ ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วนั้น จะสามารถนำไปปฎิบัติได้กับสารเคมีที่เกี่ยวกับไฟโดยตรง ไม่ว่า จะเป็นสารไวไฟหรือไม่ สำหรับการดับเพลิงในบริเวณอาคารข้างเคียง หรือพาหนะต่างๆ หรือทรัพย์สินอื่นๆ ควรปฎิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้

การเคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์จากรังสีความร้อน

การเคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ออกจากบริเวณที่มีรังสีความร้อน ถือเป็นวิธีการปฏิบัติปกติสำหรับปฏิบัติการผจญเพลิงที่สามารถกระทำได้ หากไม่มีความเสี่ยงต่อทีมผจญเพลิง ดังนั้น คำแนะนำในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ได้แสดงไว้ในข้อมูลของ ERICards โดยมีข้อยกเว้นแต่เฉพาะ ERICards ที่เกี่ยวกับวัสดุที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปฎิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ และในกรณีนี้จะไม่แนะนำให้มีการทำให้บรรจุภัณฑ์เย็นตัวลงด้วยน้ำ ในทางตรงกันข้าม ERICards ไม่แนะนำให้เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ของสารที่มีสารทำปฏิกิริยาเคมีรุนแรง หรือสารเคมีที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีแรงดัน และในกรณีนี้ ERICards จะแนะนำให้ปฏิบัติการจากจุดที่มีการป้องกัน และใช้อุปกรณ์ควบคุมแบบไม่ใช้คน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ERICards ออกแบบมาเพื่อให้พนักงานผู้รับผิดชอบที่ได้รับการอบรมใช้งานแล้วเท่านั้น ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า ทีมพนักงานผู้รับผิดชอบจะต้องสามารถปฎิบัติการช่วยชีวิตได้ เช่น การช่วยหายใจ การกู้ชีวิตด้วยการกระตุ้นหัวใจ หรือ การกู้ชีวิตด้วยออกซิเจน (หากไม่อยู่ในบริเวณที่อาจติดไฟได้) หรือ เครื่องช่วยหายใจ

วิธีปฏิบัติขั้นพื้นฐาน เช่น ถอดชุดที่คับแน่นออก้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม

ข้อมูลการปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามที่ได้ให้ไว้ใน ERICards นั้น เป็นข้อมูลสำหรับการช่วยชีวิตในเบื้องต้นเท่านั้น ข้อมูลใน ERICards จึงไม่ควรนำไปใช้สำหรับการรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ

ในกรณีที่บุคคลไม่ได้รับการป้องกัน สัมผัสกับสารเคมี ควรรักษาบุคคลนั้นๆ ให้เหมาะสมตามประเภทของสารเคมีที่ได้รับ โดยใน ERICards มีข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการรักษาเท่าที่จำเป็น

ข้อควรระวังที่สำคัญสำหรับการกู้คืนผลิตภัณฑ์

ทีมผจญเพลิงในยุโรปบางประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการกู้คืนผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ประเทศการกู้คืนจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ดังนั้น ใน section นี้ จึงจะให้ข้อมูลเพื่อทีมดับเพลิงทีี่มี อุปกรณ์เฉพาะในการผจญเพลิงและมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น และสำหรับทีมผจญเพลิงที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้น จะต้องมีการดำเนินการภายใต้หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญในการกู้คืนผลิตภัณฑ์

ข้อมูลดังกล่าว จะเกี่ยวกับการเลือกปั๊มที่เหมาะสมกับการสูบถ่ายผลิตภัณฑ์, การต่อสายดินที่เหมาะสมกับอุปกรณ์, หรือการกู้คืนผลิตภัณฑ์ที่หกรั่วไหล สิ่งสำคัญคือความต้องการที่จะเลือกปั๊มที่ปลอดภัยสำหรับก๊าซหรือของเหลวไวไฟ เช่น คุณลักษณะของ EEX de II A T3 - CENELEC (EN 50014) ซึ่ง:

EEX = หน่วยการป้องกันการระเบิด (explosion protected unit)

de = ชนิดของการป้องกันการลุกติดไฟ, ( d = การต้านทานความดันของสิ่งปกป้อง (pressure resistant enclosure), e = ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น (raised safety))

IIA = กลุ่มของการระเบิด (explosion group)

T3 = การแบ่งประเภทอุณหภูมิ (เช่น T3 : เป็นอุณหภูมิพื้นผิวภายนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ไม่ควรมีอุณหภูมิสูงเกิน 200 องศาเซลเซียส และจุดระเบิดของของเหลวที่ติดไฟได้ มากกว่า 200 องศาเซลเซียส)

ข้อควรระวัง หลังจาก การเข้าแทรกแซง

ทีมผจญเพลิงควรจะทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อนทันทีหลังจากที่สัมผัสกับสารเคมีที่ รั่วไหล โดยควรถอดชุดป้องกันการปนเปื้อนหลังจากการใช้งาน และปฎิบัติตามมาตรการที่ได้แนะนำไว้ รวมทั้ง เก็บชุดดังกล่าวไว้ในบริเวณที่ปลอดภัย จนกว่าจะมีการทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะนำกลับมาใช้ อีกครั้ง หากการทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อนไม่สามารถกระทำได้ในบริเวณนั้นๆ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะขนส่งออกไปจากสถานที่เกิดเหตุ

ทั้งนี้ พนักงานในทีมงานผจญเพลิงทุกคน ควรจะปฎิบัติอย่างถูกสุขลักษณะ (เช่น อาบน้ำ และเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย) หลังจากที่กลับไปยังที่ทำงาน

Top


© European Chemical Industry Council (CEFIC) 2015-.
http://www.cefic.org - Telephone +32 (0)2 436 9300